ในช่วงสงครามนั้นกองทัพจีนคณะชาติมีกำลังพลประมาณ 4,300,000 นาย 370 กองพล 46 กองพลใหม่ 12 กองพลทหารม้า 8 กองพลทหารม้าใหม่ 66 กองพลชั่วคราว และ 13 กองพลสำรอง เป็นจำนวนทั้งหมด 515 กองพล แต่หลายกองพลเกิดจากการรวมกันของสองกองพลหรือมากกว่า จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 4,000-5,000 นาย กำลังพลของกองทัพจีนคณะชาติถ้าเทียบกับกองพลญี่ปุ่นแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกัน
แต่เนื่องจากกองทัพจีนคณะชาตินั้นขาดแคลนด้านปืนใหญ่, อาวุธหนัก, และยานยนต์ที่ใช้ขนส่งกำลังพล ทำให้ 4 กองพลของจีนคณะชาติมีอำนาจในการรบเท่ากับ 1 กองพลของกองทัพญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการบริหารและควบคุมกองทัพอีกด้วย เนื่องจากอำนาจในการควบคุมไม่เป็นระบบ สื่อข่าวกรอง, การส่งกำลังบำรุงในการทหาร, การสื่อสาร, และการพยาบาลนั้นถือว่าย่ำแย่
อำนาจควบคุมกองทัพจีนคณะชาตินั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ กองทัพกลาง ซึ่งเป็นการรวมตัวของกองพลที่ฝึกในโรงเรียนทหาร ฮ่วมปั่ว ซึ่งเป็นกองพลที่จงรักภัคดีต่อเจียงไคเช็ค กลุ่มที่สองคือ กองทัพรวม เป็นการรวมตัวของกองพลที่บัญชาการโดยแม่ทัพของมณฑลต่างๆ
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีกำลังพลประมาณ 3,200,000 นาย ส่วนใหญ่ประจำการที่ประเทศจีนมากกว่าที่สมรภูมิเปซิฟิค จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 20,000 นาย ในกองพลที่มีหมายเลขน้อยกว่า 100 และ 10,000 นายในกองพลที่หมายเลขมากกว่า 100 ในตอนที่มีการโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมี 51 กองพล ซึ่ง 35 กองพลประจำการอยู่ที่จีน และ 39 กองพลน้อย คิดเป็น 80% ของกำลังพลทั้งหมดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีหน่วยพิเศษด้านปืนใหญ่, ทหารม้า, ต่อต้านอากาศยาน, และยานเกราะ เทียบกับกองทัพจีนคณะชาติแล้ว ทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมียุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทหารมีประสบการณ์ในการรบมากกว่า และมีแผนการรบที่เหนือกว่าในช่วงต้นของสงคราม
ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่จีน แต่ในปีคศ.1942 ได้เริ่มส่งทหารไปประจำการที่ฮ่องกง, ฟิลิปปิน, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์, และ มาลายา